Pitch Deck

เรื่องไม่เล็กที่ Startup ต้องรู้


Pitch Deck คือ Template การนำเสนองาน เป็นครื่องมือสื่อสาร และบทสรุปให้กับธุรกิจในเวลาจำกัด ส่วนใหญ่ในประเทศไทยนั้นเรามักจะใช้โปรแกรม Powerpoint ในการทำ Pitch Deck แต่ในระยะหลังๆ เริ่มมีการใช้รูปแบบออนไลน์หรือสำเร็จรูปมากขึ้นตามเทคโนโลยีและการแข่งขันที่สูงมากขึ้น จึงมีแพลตฟอร์มส่งเสริมการทำ Pitch Deck ได้ง่ายและสวยงามมากขึ้น ซึ่งผู้เขียนจะนำมานำเสนอในคอนเทนต์ถัดไป


Pitch Deck ไม่ควรยาวเกิน 10 หน้า และความยาวของการ Pitch ก็ไม่ควรเกิน 10-15 นาที เพราะนักลงทุนต้องโฟกัสในส่วนของเนื้อหาจริง ๆ หากเป็นเรื่องของการ Pitch เพื่อแข่งขันชิงเงินรางวัลต่าง ๆ ก็ไม่ควรเกิน 5 นาที เพราะคณะกรรมการต้องเข้าใจทันที และผู้ฟังเองก็ต้องมองภาพให้ชัดและเร็วที่สุด และที่สำคัญลีลาและวาทศิลป์ในการนำเสนอจาก 10 สไลด์ ในเวลาที่จำกัดก็ต้องเรียกว่า สามารถดึงความสนใจจากนักลงทุนได้และเอาให้อยู่

คณะกรรมการและนักลงทุนที่เข้ามาฟังการนำเสนอส่วนมากจะจดจำได้เพียง 10% ของคอนเทนต์ทั้งหมด สิ่งที่สำคัญที่สุดคือต้องสร้างความน่าสนใจ กระชับ จับประเด็น ปิดช่องโหว่ โชว์ความต่าง สร้างความประทับใจ แล้วอะไรที่จะทำให้เราเอาอยู่ในสถานการณ์แบบนั้น ต้องเพิ่ม หรือ ลดอะไรบ้าง ในเนื้อหานี้ ผู้เขียนได้รวบรวมแนวทางโดยแหล่งอ้างอิงจากหลายสื่อ และนำมาเผยแพร่ในมุมมองของตัวผู้เขียนเอง ซึ่งผู้อ่านสามารถนำไปปรับใช้เพื่อความเหมาะสมตามแต่ละสถานการณ์ มาดูกันค่ะว่าควรใส่อะไรเข้าไปบ้าง

1.ที่มาของเรื่อง ปัญหา (Pain Point)

จุดเริ่มต้นของไอเดีย ที่มาของปัญหา จุดที่เราจะต้องชี้ให้เห็นว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ ต้องแก้ไข หากไม่แก้จะเกิดอะไรขึ้น หรือบอกได้ว่าผลกระทบที่เกิดจากปัญหานี้ส่งผลอะไรบ้าง และแนวทางการแก้ไขว่าควรทำอย่างไร

การบ้านที่ต้องทำ: ปัญหาที่เกิดขึ้น มีอยู่และมันก่อให้เกิดความเสียหาย มีผลกระทบต่อสังคม ต่อชุมชน ต่อการทำงาน ต่อการใช้งาน หรือต่อการใช้ชีวิตอย่างไรบ้าง ซึ่งสามารถทำเป็นกราฟหรือการอ้างอิงจากผลวิจัย หรือการทำ รีเสริชข้อมูลจากผู้ Pitching เองจากฐานประชากรหรือจากแบบสอบถามที่ได้จัดทำขึ้น

2. สิ่งที่เรามีและคิดว่าจะช่วยแก้ปัญหานั้นได้ (Value Proposition)

ชี้เป้า: ต้องทำให้คณะกรรมการและนักลงทุนเข้าใจว่า Solution ที่นำเสนออยู่นี้ สามารถ "เกิดขึ้นจริง" และ "แตกต่าง" จาก Solution อื่นๆ ที่มีอยู่ ที่สำคัญคือสามารถ "แก้ปัญหาได้จริง"

การบ้านที่ต้องทำ: อ้างอิงจากฐานข้อมูลเดิม หรือ Solution เดิมที่มีอยู่ แล้วผู้ Pitching สามารถบอกได้ว่า Solution ที่เรามีจะไปปิดปัญหานั้นได้อย่างไรและด้วยวิธีการใด

3. เป้าหมาย ตลาดที่เราพุ่งเป้าคือใคร (Target & Market)

ชี้เป้า ให้คณะกรรมการและนักลงทุนเห็นคล้อยตามว่าเราสามารถเข้าถึงปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับกลุ่มผู้บริโภคนั้นได้จริง และชี้ให้เห็นว่ากลุ่มนั้นมีความชัดเจน มีจำนวนเท่าไหร่ ช่องทางที่เราสามารถเข้าถึงเพื่อแก้ปัญหาด้วย Solution ที่เรามีอยู่ ที่สำคัญ Solution ที่เราสร้างขึ้นนี้กลุ่มผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้จริง หมายถึงสามารถซื้อได้สะดวก และเข้าถึงได้

การบ้านที่ต้องทำ: Persona Model จะทำให้เราสามารถทำความเข้าใจกับลูกค้าของเราได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

4. เทคโนโลยี หรือ นวัตกรรมที่จะนำมาใช้ (Solution)

ชี้เป้า: การนำเสนอ Solution นี้จะต้องสอดคล้องกับ ปัญหา และพฤติกรรมของผู้บริโภค Solution ที่เราสร้างขึ้นนี้กลุ่มผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้จริง หมายถึงสามารถซื้อได้สะดวก และเข้าถึงได้โดยง่าย จากฐานรายได้ของกลุ่มผู้บริโภคที่เราต้องการ

การบ้านที่ต้องทำ: วิเคราะห์ข้อมูลฐานรายได้ แหล่งรวมตัวของผู้บริโภคกลุ่มที่เราต้องการให้มาใช้ Solution ที่เราสร้างขึ้น ซึ่งส่วนนี้สามารถชี้ได้จากการทำการ Resurch ทำแบบสอบถาม (ในขั้นนี้ผู้เขียนไม่แนะนำให้ทำแบบสอบถามเนื่องจากอาจได้ข้อมูลที่ไม่เป็นข้อเท็จจริงเท่าที่ควร) การตั้ง Persona Model เป็นอีกวิธีที่ผู้เขียนแนะนำ

5. ผลลัพธ์ทางสังคมที่จะเกิดขึ้น (Social Imact& Assessment)

ชี้เป้า: การนำเสนอ Solution นี้ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงและส่งผลทางสังคมสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง ด้วยตัวชี้วัดอะไร

การบ้านที่ต้องทำ: การอ้างอิงผลการวิจัยหรือผลกระทบที่เกิดขึ้น ด้วยการทำ indicator แบบง่ายๆ ยกตัวอย่างเช่นผลจากการนำผักตบชวามาเป็นวัตถุดิบส่งผลให้แม่น้ำลำคลองสะอาด เป็นต้น

6. วิเคราะห์ความเป็นไปได้ (SWOT & SOAR)

ชี้เป้า: เป็นส่วนของการวิเคราะห์ปัญหาเชิงการตลาดด้วยการนำ SWOT หรือ SOAR มาทำให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น จากการนำเสนอทั้ง 5 หัวข้อก่อนหน้านี้

การบ้านที่ต้องทำ: เลือกเครื่องมือ อย่างใดอย่างหนึ่งที่เหมาะกับ Solution ที่เรานำเสนอในการ Pitching นี้

7. แผนธุรกิจ แผนที่การทำงาน (Business Plan)

ชี้เป้า: ในส่วนนี้จะเป็นการสรุปทุกอย่างในรูปแบบของ BMC หรือ Lean Canvas ขึ้นอยู่กับลักษณะของ Solution ที่นำเสนอต่อคณะกรรมการและนักลงทุน

การบ้านที่ต้องทำ: เลือกเครื่องมือ อย่างใดอย่างหนึ่งที่เหมาะกับ Solution ที่เรานำเสนอในการ Pitching นี้

8. ทีมและการบริหารบุคลากรในการทำงาน (Team)

ชี้เป้า: ในส่วนนี้จะมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำเสนอทีมที่ร่วมกันดำเนินการ ตลอดจนที่ปรึกษา และหน่วยงานที่สนับสนุนเพื่อเป็นการเน้นย้ำว่า Solution ที่เรานำเสนอนี้ได้รับการสนับสนุน เห็นชอบ และมีทีมร่วมดำเนินการที่ Profile สอดคล้องกับ Solution ของเราที่กำลังนำเสนออยู่ ซึ่งจะได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้นไปอีก หากประสบการณ์ ของทีม ตลอดจน หน่วยงาน สังกัดงาน ผลงาน ของทีมนั้น เป็นที่ยอมรับในวงกว้างในด้านที่เชี่ยวชาญ

การบ้านที่ต้องทำ: จะต้องได้รับความเห็นชอบและการให้ตำแหน่ง หน่วยงาน สังกัด ฯลฯ ของทีม เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ความน่าเชื่อถือ ให้กับ Solution การนำเสนอของเราครั้งนี้

9. วิธีการหารายได้ (Key Metrics)

ชี้เป้า: ในส่วนนี้ผู้เขียนให้น้ำหนักเยอะที่สุด เนื่องจากเป็นส่วนที่คณะกรรมการและนักลงทุนจะต้องทราบตลอดจนทำการซักถาม แนะนำให้ทำการบ้านตัวเลขที่จะกรอกในส่วนนี้ให้มากๆ จะต้องสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน แหล่งที่มา ราคาตลาด สืบทราบได้ เป็นที่เปิดเผย การนำเสนอจะเป็นกระบวนการที่เห็นได้ชัดเจน จับต้องได้จริง

การบ้านที่ต้องทำ: ในส่วนนี้ได้รับความอนุเคราะห์จาก คุณสกนธ์ทิพย์ นามสง่า ให้สามารถนำไฟล์มาเผยแพร่ได้ ซึ่งสามารถดาวน์โหลดไฟล์เพื่อกรอกตัวเลขได้อย่างง่าย คลิ๊ก

10. การตั้งเป้า หรือตัวชี้วัด ( Smart Gold )

ชี้เป้า: ในส่วนนี้ผู้เขียนแนะนำให้เป้าหมายในแต่ละช่วงเวลา การวางแผนเพื่อใช้เงิน ความช่วยเหลือที่ต้องการจากนักลงทุน อธิบายถึงสถานะปัจจุบัน คณะกรรมการและนักลงทุนะพิจารณาถึง โอกาสอยู่รอดของ Solution ที่จะนำเสนอนี้ โดยพิจารณาจากความสอดคล้องความต้องการจำนวนเงินที่สนับสนุน แต่มองเห็นอนาคตได้ในระยะยาวว่าสามารถสร้างรายได้จริง

การบ้านที่ต้องทำ: Smart Goal เครื่องมือที่ช่วยระบุ กรอบเวลา และความชัดเจนได้จริง

ฝากไว้ท้ายนี้สักเล็กน้อยนะคะว่า ไม่ว่าจะประเด็นใดๆ ก็ตามแต่ สิ่งที่เราจะต้องเริ่มคือ ทำความเข้าใจกับงาน สื่อสารให้ชัดเจน เกณฑ์คนมาฟัง ตั้งใจซ้อมซ้ำๆ จนจำได้ เป้าหมายนั้นจะอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมค่ะ อย่าลืมว่าสิ่งที่จะต้องคำนึงถึงให้มากคือ คุณภาพของ Solution ที่นำเสนอ ศักยภาพด้านการตลาด ความว๊าวของทีม ที่จะช่วยสนับสนุน Solution และ ความยั่งยืน ขอให้ทุกท่านโชคดีในการ Pitching นะคะ

#iLuckies #ที่ปรึกษาขาลุย

#iLuckiesAdvisor #ดีไซน์เนอร์สายมู


ทักทายแบบสุขใจ ระยะปลอดภัย ให้เทคโนโลยี เชื่อมเราถึงกัน