5 platform ฟรี!!!

ต้องมี เมื่อต้องทำ Pitch Deck


Pitch Deck ก็คือการนำเสนอธุรกิจ โดยสามารถทำให้ผู้ฟัง คณะกรรมการ หรือนักลงทุน เข้าใจผลิตภัณฑ์และบริการของเราได้ชัดเจน หากเป็นเรื่องของการ Pitch เพื่อแข่งขันชิงเงินรางวัลต่าง ๆ ก็ไม่ควรเกิน 5 นาที เพราะคณะกรรมการต้องเข้าใจทันที และผู้ฟังเองก็ต้องมองภาพให้ชัดและเร็วที่สุด และที่สำคัญลีลาและวาทศิลป์ในการนำเสนอจาก 10 สไลด์ ในเวลาที่จำกัดก็ต้องเรียกว่า สามารถดึงความสนใจจากนักลงทุนได้และเอาให้อยู่
คณะกรรมการและนักลงทุนที่เข้ามาฟังการนำเสนอส่วนมากจะจดจำได้เพียง 10% ของคอนเทนต์ทั้งหมด สิ่งที่สำคัญที่สุดคือต้องสร้างความน่าสนใจ กระชับ จับประเด็น ปิดช่องโหว่ โชว์ความต่าง สร้างความประทับใจ ผู้เขียนได้รวบรวมแพลตฟอร์มที่จะช่วยให้เราสร้าง Pitch Deck ได้สวยงาม รวดเร็ว และสามารถทำงานร่วมกับหลายอุปกรณ์ได้มาแชร์กัน ซึ่งในความเห็นของผู้เขียน ได้ทดลองใช้มาด้วยตัวเอง และมั่นใจว่าใครก็ใช้ได้ ง่าย เร็ว ที่สำคัญคือ ฟรี นั่นเองค่ะ

โปรแกรม powerpoint

โปรแกรม powerpoint

  1. Powerpoint

ชี้เป้า: จุดเริ่มต้นของไอเดีย ที่มาของปัญหา จุดที่เราจะต้องชี้ให้เห็นว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ ต้องแก้ไข หากไม่แก้จะเกิดอะไรขึ้น หรือบอกได้ว่าผลกระทบที่เกิดจากปัญหานี้ส่งผลอะไรบ้าง และแนวทางการแก้ไขว่าควรทำอย่างไร

การบ้านที่ต้องทำ: หากต้องสร้าง Pitch Deck ด้วย Powerpoint เชื่อว่าน่าจะเป็นโปรแกรมแรกๆ และชินมือสำหรับหลายๆ คน เพราะสามารถทำงาน ออฟไลน์ และยิ่งนับวันยิ่งมีฟีตเจอร์เจ๋งๆมาให้ใช้ แต่เหนือสิ่งอื่นใด หากต้องใช้ ภาพประกอบเยอะๆ ไฟล์ที่ได้จาก powerpoint ก็จะมีขนาดใหญ่ ก็เป

Canva

2. แคนวา Canva

ชี้เป้า: แพลตฟอร์มที่สร้างขึ้นมาเพื่อช่วยให้คนที่มีไอเดียใช้ออกแบบงานได้ด้วยตัวเองง่ายๆ ในเวลาอันรวดเร็ว และที่สำคัญคือ ฟอนต์สำหรับใช้งานเยอะมากๆ ย้ำอีกว่าใช้ฟรีไปก่อนก็ฟินมากมายแล้วค่ะ www.canva.com

การบ้านที่ต้องทำ: อ้างอิงจากฐานข้อมูลเดิม หรือ Solution เดิมที่มีอยู่ แล้วผู้ Pitching สามารถบอกได้ว่า Solution ที่เรามีจะไปปิดปัญหานั้นได้อย่างไรและด้วยวิธีการใด

Microsoft Sway

3. Microsoft Sway

ชี้เป้า: เพียงแค่มีบัญชี Microsoft ก็สามารถใช้งาน Office Sway ได้แล้ว สวยงามใช้งานง่าย เปิดใช้ได้ทุกที่มีระบบการทำงานร่วมกันได้กับทุกที่ เหนือสิ่งอื่นใดคือ ถ้าคุณทำงานใน Powerpoint ก็ยังสามารถดึงมาใช้ได้ร่วมกันอีกต่างหาก

การบ้านที่ต้องทำ: Persona Model จะทำให้เราสามารถทำความเข้าใจกับลูกค้าของเราได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

Google Slide

4. Google Slide

ชี้เป้า: การนำเสนอ Solution นี้จะต้องสอดคล้องกับ ปัญหา และพฤติกรรมของผู้บริโภค Solution ที่เราสร้างขึ้นนี้กลุ่มผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้จริง หมายถึงสามารถซื้อได้สะดวก และเข้าถึงได้โดยง่าย จากฐานรายได้ของกลุ่มผู้บริโภคที่เราต้องการ

การบ้านที่ต้องทำ: วิเคราะห์ข้อมูลฐานรายได้ แหล่งรวมตัวของผู้บริโภคกลุ่มที่เราต้องการให้มาใช้ Solution ที่เราสร้างขึ้น ซึ่งส่วนนี้สามารถชี้ได้จากการทำการ Resurch ทำแบบสอบถาม (ในขั้นนี้ผู้เขียนไม่แนะนำให้ทำแบบสอบถามเนื่องจากอาจได้ข้อมูลที่ไม่เป็นข้อเท็จจริงเท่าที่ควร) การตั้ง Persona Model เป็นอีกวิธีที่ผู้เขียนแนะนำ

Google Slide

5. ผลลัพธ์ทางสังคมที่จะเกิดขึ้น (Social Imact& Assessment)

ชี้เป้า: การนำเสนอ Solution นี้ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงและส่งผลทางสังคมสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง ด้วยตัวชี้วัดอะไร

การบ้านที่ต้องทำ: การอ้างอิงผลการวิจัยหรือผลกระทบที่เกิดขึ้น ด้วยการทำ indicator แบบง่ายๆ ยกตัวอย่างเช่นผลจากการนำผักตบชวามาเป็นวัตถุดิบส่งผลให้แม่น้ำลำคลองสะอาด เป็นต้น

ฝากไว้ท้ายนี้สักเล็กน้อยนะคะว่า แต่ในส่วนที่เราต้องการเพิ่มฟีตเจอร์อื่นๆ เพิ่มเติมก็คงไม่พ้นการชำระเงิน เพื่อได้ใช้งานยาวๆ อย่งไรก็ตาม หากถูกจริตผูกจิตผูกใจกับแพลตฟอร์มใด ก็สามารถตัดสินใจใช้ยาวๆ ไปได้ตามกำลังทรัพย์ในกระเป๋าได้เลยค่ะ และหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านทุกท่าน ไม่ว่าจะประเด็นใดๆ ก็ตามแต่ สิ่งที่เราจะต้องเริ่มคือ ทำความเข้าใจกับงาน สื่อสารให้ชัดเจน เกณฑ์คนมาฟัง ตั้งใจซ้อมซ้ำๆ จนจำได้ เป้าหมายนั้นจะอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมค่ะ อย่าลืมว่าสิ่งที่จะต้องคำนึงถึงให้มากคือ คุณภาพของ Solution ที่นำเสนอ ศักยภาพด้านการตลาด ความว๊าวของทีม ที่จะช่วยสนับสนุน Solution และ ความยั่งยืน ขอให้ทุกท่านโชคดีในการ Pitching นะคะ


#iLuckies #ที่ปรึกษาขาลุย

#iLuckiesAdvisor #ดีไซน์เนอร์สายมู


ทักทายแบบสุขใจ ระยะปลอดภัย ให้เทคโนโลยี เชื่อมเราถึงกัน